ผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย สาเหตุของผมร่วงมีได้หลายประการ เช่น พันธุกรรม ความเครียด โรคบางชนิด การใช้ยาบางชนิด การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือการบาดเจ็บที่หนังศีรษะ แพทย์ผิวหนังเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเส้นผม จึงสามารถวินิจฉัยสาเหตุของผมร่วงและแนะนำการรักษาที่เหมาะสมได้
สาเหตุผมร่วง เกิดจากอะไร
แพทย์ผิวหนังยังสามารถให้คำแนะนำในการดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ เพื่อลดความเสี่ยงของผมร่วงได้ เช่น หลีกเลี่ยงการดึงหรือถอนผมบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผมมากเกินไป และรักษา ความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะอย่างสม่ำเสมอดังนั้น หากพบว่าตนเองมีผมร่วงผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ต่อไปนี้เป็นสาเหตุของผมร่วงที่แพทย์ผิวหนังสามารถวินิจฉัยได้
- พันธุกรรม เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- ความเครียด อาจทำให้เกิดผมร่วงชั่วคราวได้
- โรคบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต เป็นต้น
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยารักษาโรคจิตเวช ยารักษาโรคหัวใจ เป็นต้น
- การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว อาจทำให้ผมร่วงได้
- การบาดเจ็บที่หนังศีรษะ อาจทำให้ผมร่วงเป็นบริเวณๆ ได้
>>ติดต่อเจ้าหน้าทีมแพทย์โรคผิวหนัง คลิกเลย
7 โรคผมร่วง ที่พบได้บ่อย
ผมร่วงอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุและความรุนแรงของปัญหา แต่มีโรคผมร่วงที่พบได้บ่อยที่สามารถระบุได้ดังนี้
1.โรคผมร่วงเป็นหย่อม
เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จะมีอาการผมร่วงเฉพาะที่ บริเวณผมที่ร่วงจะมีลักษณะกลมหรือมีขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มีเส้นผมหนังศีรษะในบริเวณนั้น ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นสะเก็ดหรือเป็นขุย
2.โรคดึงผมตนเอง
พบได้บ่อยในผู้ใหญ่และเด็กที่มีความเครียดจากสาเหตุต่าง ๆ ผู้ป่วยจะดึงผมตัวเองจนผมแหว่ง หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะไม่มีผื่นคัน หรือเป็นขุย และจะพบเส้นผม ที่เป็นตอสั้น ๆ
3.โรคผมผลัด
เกิดผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราวจากการเจ็บป่วยหรือความเครียดมากๆ หรือขาดสารอาหาร เช่น เหล็กหรือวิตามินดี ทำให้วงจรชีวิตเส้นผมที่กำลังเจริญมีการหยุดเจริญและหลุดร่วงมากกว่าปกติ
4.โรคเชื้อราที่หนังศีรษะ
โรคเชื้อราที่ศีรษะ กลากที่ศีรษะ อาจพบได้บ่อยในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อราโรคนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นผื่นแดงคัน และเป็นขุย หรือก้อนอักเสบคล้ายฝี อาจจะมีโรคเชื้อรา (กลาก) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
5.โรคผมร่วงจากพันธุกรรม
ผมร่วงจากกรรรมพันธุ์ สามารถพบได้ทั้งชายและหญิง แต่ส่วนใหญ่มักพบในเพศชาย เห็นเป็นเส้นขนอ่อน ๆ ทำให้ผมบริเวณนั้นดูบางลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะและหน้าผาก
6.โรคผมร่วงจากความร้อนและสารเคมี
ผมร่วงจากการทำผม การม้วนผม ย้อมสีผม ดัดผม เป่าผมหรือวิธีอื่นๆ อาจทำให้มีอาการผมร่วงได้
จากการที่มีหนังศีรษะอักเสบ หรือเส้นผมเปราะหัก
7.ผมร่วงจากโรคอื่นๆ
ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น โรคเอสแอลอี ก็อาจมีอาการผมร่วง ผมบาง ร่วมกับอาการไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า โรคผมร่วงบางอย่างอาจมีการอักเสบที่บริเวณสเต็มเซลล์
ทำให้เกิดผมร่วงแบบเป็นแผลเป็นซึ่งแผลเป็นจะไม่หาย
>>ปรึกษาปัญหาโรคผิวหนัง คลิกเลย
สิ่งที่ควรทำเมื่อคุณมีปัญหาผมร่วง
1. สังเกตอาการตนเองว่ามีภาวะผมร่วงผิดปกติหรือไม่ เช่น ผมร่วงมากกว่าวันละ 100 เส้น/วัน ถ้ามีอาการผมร่วงผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
2. รักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะอย่างสม่ำเสมอ
3. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือความร้อนกับหนังศีรษะมากจนเกินไป
4. ในผู้ที่มีการดัดผมหรือย้อมสีผม ควรมีการบำรุงเส้นผมด้วยครีมนวดผมเพื่อไม่ให้ผมพันกันเกิดผมขาดง่าย
5. ถ้ารู้สึกมีอาการคัน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษา หลีกเลี่ยงการดึงหรือถอนผมเล่น
6. ไม่ควรซื้อยารักษาเองก่อนพบแพทย์เพื่อรับคำวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนรักษา ในรายที่เพิ่งมีอาการ ผมร่วงที่เป็นมากหรือผมร่วงแบบเป็นแผลเป็น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
แพทย์ผิวหนังความหวังของคนผมร่วง
แพทย์ผิวหนังเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเส้นผม มีความรู้และประสบการณ์ในการตรวจวินิจฉัยและดูแลผู้มีปัญหาผมร่วงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยแพทย์ผิวหนังจะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุของผมร่วง จากนั้นจึงพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยา การฉีดยา การเลเซอร์ หรือการผ่าตัดปลูกผม
แพทย์ผิวหนังที่เราแนะนำ
พญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางรักษาโรคผิวหนัง ตจแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง จากโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศ ประสบการณ์มากกว่า 15 ปีมีประสบการณ์ในการรักษาโรคผิวหนัง โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ที่เน้นความโดดเด่นในการ รักษาโรคผม เล็บ ผิวหนัง โดยเฉพาะเป็นอดีตอาจารย์แพทย์ รพ.รามาธิบดี จบจากอเมริกา และเกาหลี
ประสบการณ์การทำงาน
- อาจารย์พิเศษแผนกผิวหนัง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ
ผ่านการศึกษาจาก (Education)
- Hair Restoration Training, Korea (2015)
- Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
- Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
- Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
- Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
- Nail surgery training
- Laser expert training
- Hair expert training
- Boton university usa
ดังนั้น หากพบว่าตนเองมีปัญหาผมร่วง ควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ผมร่วงรุนแรงจนแก้ไขได้ยาก สามารถติดต่อได้ที่